เมนู

10. ทุติยสัปปายสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง


[ 35 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย
แก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติ
อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและ
ทิฏฐิเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง
พระเจ้าข้า.
พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เทียง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าเข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส
ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์

ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้
ก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอน
ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.
จบ ทุติยสัปปายสูตรที่ 10
สัพพวรรคที่ 3


อรรถกถาทุติยสัปปายสูตรที่ 10


ในทุติยสัปปายสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้งทรงแสดงการยึดถือตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ด้วยอย่างละ 3 บท มีอาทิว่า เอตํ มม ดังนี้ จึงทรงแสดงเทศนา โดย
ปริวัตตนัย 3. แต่เมื่อว่าโดยลำดับในพระสูตรทั้ง 3 นี้ พระองค์ตรัส
มรรคที่ 4 พร้อมด้วยวิปัสสนา.
จบ อรรถกถาทุติยสัปปายสูตรที่ 10
จบ สัพพวรรคที่ 3


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สัพพสูตร 2. ปฐมปหานสูตร 3. ทุติยปหานสูตร 4. ปฐม-
ปริชานสูตร 5. ทุติยปริชานสูตร 6. อาทิตตปริยายสูตร 7. อันธ-
ภูตสูตร 8. สารุปปสูตร 9. ปฐมสัปปายสูตร 10. ทุติยสัปปายสูตร.